รังสิมันต์ โรม โพสต์ยืนยันขอปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. เช่นเดิม ด้วยการ ตรวจสอบงบประมาณของรัฐบาล รวมถึง งบส่วนพระองค์ ด้วย นาย รังสิมันต์ โรม ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก จากกรณีที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีหนังสือเชิญพรรคก้าวไกลเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงหรือแสดงพยานหลักฐาน เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนว่าพรรคก้าวไกลกระทำอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฝ่าฝืนมาตรา 92 (2) แห่ง พ.ร.ป.ด้วยพรรคการเมือง
ซึ่งมูลเหตุของการร้องเรียน ได้แก่การที่ ส.ส. พรรคก้าวไกล
ได้อภิปรายแปรญัตติตัดงบประมาณของส่วนราชการในพระองค์ในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2564 โดยในหนังสือของ กกต. ได้อ้างถึงคำอภิปรายของคุณเบญจา แสงจันทร์ เพื่อน ส.ส. พรรคก้าวไกล และการลงข้อมูลที่เกี่ยวข้องลงในเพจเฟซบุ๊คและเว็บไซต์ของพรรคก้าวไกล
โดยนาย รังสิมันต์ ยืนยันว่า ในฐานะที่ผมเป็นหนึ่งใน ส.ส. ที่ร่วมอภิปรายตัดงบประมาณส่วนราชการในพระองค์ด้วย ผมขอยืนยันว่าการอภิปรายของผมและเพื่อน ส.ส. พรรคก้าวไกลอีก 3 คน คือคุณเบญจา, คุณพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ และคุณสุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา นั้นเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของผู้แทนราษฎรทุกประการ ในการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินของหน่วยงานของรัฐ ที่ล้วนมาจากภาษีที่ประชาชนทำงานหาเงินมาจ่ายให้กับประเทศเพื่อหวังว่ารัฐจะนำไปใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์สุขแก่พวกเขาได้อย่างดีที่สุด ฉะนั้นหากเราพบว่าหน่วยงานรัฐหน่วยใดใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวอย่างเกินสมควร ไม่เหมาะสมแล้ว ก็ย่อมเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องตัดงบประมาณส่วนนั้นลง เพื่อแบ่งเบาภาระทางภาษีของประชาชน หรือเพื่อให้มีการนำงบประมาณส่วนนั้นไปใช้ประโยชน์ในทางอื่นต่อไป
มากไปกว่านั้น เมื่อดูเนื้อหาที่ กกต. ยกมาว่าเป็นเหตุที่ถูกร้องเรียนแล้ว ผมไม่เห็นว่าเนื้อหาดังกล่าวจะเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแต่อย่างใดเลย ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำถามถึงเหตุผลที่ส่วนราชการในพระองค์มีบุคลากรกว่า 14,000 คน การชี้ถึงปัญหาของ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 การตั้งข้อสังเกตถึงเนื้อหาของงบประมาณส่วนราชการในพระองค์ที่แทบไม่เปิดเผยรายละเอียดใดๆ ไปจนถึงการย้ำเตือนว่าความจงรักภักดีไม่ได้วัดกันด้วยจำนวนงบประมาณ บุคลาการ หรือการใช้มาตรา 112 เอาผิดประชาชน หากแต่เป็นความยินยอมพร้อมใจที่ประชาชนมอบให้ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่อยู่ในวิสัยที่บุคคลใดๆ ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยและมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ว่าจะเป็น ส.ส. หรือไม่ก็ตาม สามารถพูดถึงได้ทั้งนั้น
การร้องเรียนที่เกิดขึ้นต่อพรรคก้าวไกลในครั้งนี้คือการทำให้สภาผู้แทนราษฎรและ ส.ส. ไม่สามารถทำหน้าที่อย่างที่ควรจะเป็นได้ หากว่ามีหน่วยงานใดของบประมาณจากภาษีประชาชน แล้วสภาที่มีหน้าที่พิจารณาและตัดลดงบประมาณอยู่โดยปรกติแท้ๆ อยู่แล้ว กลับไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ แล้วเราจะมีสภาผู้แทนราษฎรไว้ทำไม จะมี ส.ส. ไว้ทำไม สุดท้ายเมื่อพยายามทำก็จะโดนร้อง โดนดำเนินคดี เพื่อนำไปสู่การยุบพรรคการเมือง นี่คือการสร้างความกลัวที่จะเกิดขึ้นไม่ใช่แค่กับพรรคก้าวไกล แต่ความกลัวนี้ คนที่ร้อง คนที่เป็นผู้กำกับ ต้องการแสดงไปถึง ส.ส. ทุกคน พรรคก้าวไกลจะไม่ยอมให้เกิดความกลัวนี้ต่อไป เราจะยังคงเดินหน้าทำหน้าที่อย่างตัวตรงเพื่อเป็นผู้แทนของพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง
สุดท้ายนี้ผมขอฝากถึง กกต. ผมคิดว่าพวกท่านคงรู้ดีว่ามีความพยายามในการใช้ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์มาทำลายล้างพรรคก้าวไกลในทุกวิถีทาง โดยไม่สนว่าสิ่งที่เราได้ทำลงไปนั้นจะเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบในฐานะพรรคการเมืองและผู้แทนราษฎร ผมหวังว่า กกต. จะตระหนักอยู่เสมอในการใช้อำนาจของพวกท่านทั้งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและที่อาจเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตข้างหน้า ว่าพวกท่านกำลังเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเหล่านี้หรือไม่
‘อนุทิน’ ขอประชาชนอดทนงด สาดน้ำสงกรานต์ อีกปี รอปรับเป็นโรคประจำถิ่นก่อน
อนุทิน ขอประชาชนงดรวมตัวเล่น สาดน้ำสงกรานต์ อีกปี หวั่นแพ่เชื้อโควิด รอปรับเป็นโรคประจำถิ่นก่อน เชื่อสถานการณ์จะดีขึ้น นาย อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและรองนายกรัฐมนตรี ได้ออกมากล่าวถึงกรณีการเสนอให้มีการเล่นสาดน้ำในถนนข้าวสาร หลังจากที่ผู้ประกอบเข้ายื่นจดหมายให้พิจารณามาตรการโควิดในช่วงสงกรานต์ และมีรายงานว่าจะมีการหารือในวันที่ 29 มี.ค. นั้น
นาย อนุทิน กล่าวว่า ตนคิดว่าเรายังมีความจำเป็นในการลดความเสี่ยงหลายด้าน โควิดไปกับคน ติดได้จากการสัมผัส ใช้ภาชนะร่วมกัน ดังนั้น การสาดน้ำที่สนุกสนาน ก็เป็นความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม มาตรการสงกรานต์ปีนี้เราไม่ได้ปิด ยังสามารถพบปะกันได้
“ขอให้อดทนสักปี เรากำลังเดินเข้าสู่โรคประจำถิ่น ที่ไม่ใช่การประกาศไปอย่างเดียวแต่ต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนด้วย เราตั้งใจจะเข้าสู่โรคประจำถิ่นก็พยายามอย่าไปเพิ่มความเสี่ยงในปัจจัยอื่นๆ แล้วเมื่อเป็นโรคประจำถิ่นแล้วทุกอย่างก็จะคลี่คลายไปได้เยอะ” นายอนุทินกล่าว
หลังจากการฝึกขั้นพื้นฐานที่ศูนย์ฝึกกองทัพบก ดิยาตาลาวา เขาได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่สัญญาณและต่อมาย้ายไปเป็นทหารราบหลายนาย กองทหาร เขาเห็นการเข้าประจำการในช่วงแรกของสงครามกลางเมืองศรีลังกากับกองทหาร Gajaba
มีผลงานปฏิบัติการ Vadamarachi, Operation Strike Hard และ Operation Thrividha Balaya และการตอบโต้ -ปฏิบัติการก่อความไม่สงบระหว่างการจลาจล JVP ระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2532
ลาออกจากกองทัพก่อนย้ายไปประเทศอเมริกา โกตาบายา ราชปักษาาลาออกจากกองทัพก่อนกำหนดและย้ายไปทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก่อนจะอพยพไปยังสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2541
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป